วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาการนิ้วมือชา

อาการที่พบบ่อย
• ชาบริเวณปลายนิ้วอาจจะเป็นนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้, นิ้วกลาง บางนิ้วหรือทั้ง 3 นิ้ว รวมทั้งนิ้วนางครึ่งนิ้ว • อาการชาบางครั้งหายไปได้เอง หรือมีอาการชามากขึ้นตอนกลางคืน • ชามากขึ้นเวลาทำงาน หรือชาตลอดเวลา • มีอาการกดเจ็บบริเวณฝ่ามือ ถ้าท่านมีอาการเช่นนี้ อาจจะเป็นภาวะที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ โครงสร้างของมือ ที่ทำให้มีอาการชาลักษณะนี้ เส้นประสาทที่มาเลี้ยงฝ่ามือทางด้านฝ่ามือจะมี 2 เส้น คือ • เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เลี้ยงฝ่ามือทางด้านนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว • เส้นประสาทอัลน่าร์ เลี้ยงฝ่ามือทางด้านนิ้วก้อย และอีกครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง
ความสำคัญ เส้นประสาทมีเดียน เข้าไปในฝ่ามือโดยผ่านอุโมงค์ (Carpal tunnel) โดยมีเยื่อพังผืด (Deep tranverse carpal ligament) ขึงระหว่างกระดูกข้อมูล ในอุโมงค์นี้ นอกจากจะมีเส้นประสาทมีเดียนแล้วยังมีเอ็นที่ทำหน้าท ี่งอนิ้วอีก 9 เส้น อยู่รวมกัน เส้นประสาทมีเดียนเมื่อคลอดอุโมงค์ข้อมือเข้าไปแล้ว จะไปแยกแขนงไปรับความรู้สึกที่นิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้, นิ้วกลาง ครึ่งนิ้วของนิ้วนางและอีกแขนงหนึ่งจะเลี้ยงกล้ามเนื ้อที่เนินฝ่าข้อมือด้านโคนนิ้วหัวแม่มือ (Thenar eminence) สาเหตุ • การใช้งานของข้อมือที่มีการงอข้อมือ, หรือกระดกข้อมือมาก ๆ จะทำให้เยื่อพังผืดไปกดรัดเส้นประสาทมากขึ้น • ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่พบภาวะนี้ได้ เช่น โรคเบาหวาน, โรคพิษสุราเรื้อรัง, โรคไทรอยด์ และผู้ป่วยสูงอายุ เป็นภาวะที่อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณส่วนต่าง ๆ ในอุโมงค์นี้น้อยลง เซลล์บางส่วนตาย มีอาการบวมของเอ็นเยื่อหุ้มเอ็นไปกดเส้นประสาทมีเดีย นได้มากขึ้น ข้อแนะนำ ถ้ามีอาการชาปลายนิ้ว ลองขยับข้อมือ นิ้วมือเบา ๆ ถ้ามีอาการดีขึ้นหายชาได้ หรือมีอาการชาตอนกลางคืนบางครั้ง อาจจะมีสาเหตุจากการกดทับของเส้นประสาทมีเดียนในระยะ แรก ๆ ได้ • ท่านควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือที่อยู่ท่าที่ผิดปกติ เช่น ในท่องอข้อมือมาก ๆ การยกของ หรือการกระดกข้อมือมาก ๆ เช่น การยันพื้น, ดันสิ่งของต่าง ๆ • การที่ใช้ข้อมือมากเกินไป การปวด ขา กลางคืน บางท่านบอกต้องเอาข้อมือวางบนหมอนหรือบางครั้งต้องเอ าหนังสือพิมพ์ม้วนผูกติดกับข้อมือให้ข้อมืออยู่ในท่า ตรงจะไม่ค่อยชา ก็เป็นวิธีที่ถูกต้อง ข้อมือที่อยู่ในท่าปกติ ไม่หักงอพับไปด้านใดด้านหนึ่ง จะเป็นท่าที่เส้นประสาทถูกกดทับน้อยที่สุด ถ้าท่านลองแก้ไขด้วยตัวเองไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์

ที่มา www.samunpri.com

การดูแลสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น

การดูแลสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น

โรคซึมเศร้าในเด็ก

อาการ
1. อาการเศร้า ไม่เบิกบาน ร้องไห้บ่อย
2. ไม่สนุกกับสิ่งแวดล้อม ชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ
3. น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม หรืออ้วนมากผิดปกติ
4. นอนไม่หลับหรือหลับมากผิดปกติ
5. ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า หรือหงุดหงิดกระวนกระวาย
6. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
7. รู้สึกตัวเองไร้ค่า รู้สึกผิดมาก ตำหนิตัวเองมาก
8. สมาธิไม่ดี ผลการเรียนลดลง
9. มีความคิดอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย

สาเหตุ
1. พันธุกรรม
2. มีความผิดปกติของสารสื่อนำประสาทในสมอง
3. ปัจจัยทางจิต เช่น เกิดเหตุการณ์ณ็ที่ก่อความเครียดในชีวิต มีบุคลิกภาพชนิดอ่อนแอ , ย้ำคิดย้ำทำ มองโลกในแง่ลบ เป็นต้น

โรคซึมเศร้า มีผลเสียต่อการพัฒนาการของเด็ก จึงสมควรรีบรักษา นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นอีกด้วย

วิธีป้องกัน
1. เฝ้าระวังดูแลจิตใจเด็ก สังเกตพฤติกรรมจากอาการทั้ง 9 ข้อ ในเด็กมี่มีครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า
2. แสดงความรักความผูกพัน ช่วยกันแก้ไข ไม่ตำหนิรุนแรงเมื่อเด็กทำผิดพลาด
3. รีบปรึกษาจิตแพทย์เด็กตั้งแต่เริ่มสงสัยในพฤติกรรม


พัฒนาการเด็ก

ผู้ใหญ่ควรรู้จัก “พัฒนาการเด็ก 5 ด้านหลัก ๆ ดังต่อไปนี้คือ

1. ด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา เป็นตัวบ่งบอกว่าเด็กสมวัยหรือไม่ สังเกตจากการเคลื่อนไหวของเด็กตั้งแต่เล็ก เด็กนอนนิ่ง ๆ แล้วเริ่มคว่ำ คลาย ยืน เดิน วิ่ง กระโดด ทรงตัวบนสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น
2. ด้านอารมณ์ เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี รู้จักยิ้ม โกรธ ดีใจ พอใจ กลัวอยู่คนเดียว เมื่อเริ่มโตขึ้น ก่อนอายุ 3 ปี จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เอาแต่ใจตัว อิจฉา เรียกร้องความสนใจ ช่วงนี้ผู้ใหญ่สามารถอบรมฝึกวินัยให้เด็กเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ที่ถูกต้องได้ตามวัย เมื่ออายุ 4-6 ปี จะเริ่มมีเหตุผล แสดงความรู้สึกเป็น ควบคุมอารมณ์ได้บ้าง แม้จะยังมีอารมณ์แปรปรวนอยู่
3. ด้านสติปัญญา คือ ความฉลาดตามวัย การรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การเข้าใจเหตุผล การใช้กล้ามเนื้อมือนิ้ว ในการหยิบจับสิ่งของเล็ก ๆ ร้อยลูกปัด จับดินสอ ขีดเขียน เป็นต้น
4. ด้านภาษา การเรียนรู้เข้าใจในภาษามนุษย์ เริ่มจากฟังเข้าใจ พูดตามได้ พูดเอง คิดคำพูดเองได้ รู้จักศัพท์มากขึ้น และพูดประโยค
5. ด้านสังคม เด็กเริ่มช่วยเหลือตนเองมากขึ้นตามวัย เช่น แต่งตัวเอง รักษาความสะอาดตัวเอง การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในบ้าน ที่โรงเรียน เข้ากลุ่มเรียน ปฎิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้

เด็กอาจมีการพัฒนาช้าเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้าน ผู้ใหญ่จึงควรมีความรู้หรือใฝ่หาความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก ซึ่งปัจจุบันมีสื่อความรู้มากมาย เช่น เอกสารแผ่นพับ หนังสือ รายการวิทยุ โทรทัศน์ที่เกี่ยวกับเด็ก การปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก เป็นต้น
เด็กที่พัฒนาการได้สมวัย จะมีความสุข ร่วมกิจกรรมและปฎิบัติหน้าที่ของตนได้เหมาะสมกับวัย และเต็มความสามารถ เป็นบุคคลที่รู้สึกมีคุณค่าต่อตัวเองและผู้อื่น ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า

การฝึกระเบียบวินัย

ทำไมเด็กต้องมีระเบียบวินัย
ระเบียบวินัย จะช่วยให้เด็กหัดควบคุมความต้องการของตัวเองให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าต้องตอบสนองความต้องการของตนทุกครั้งอย่างทันทีทันใด ทำให้เด็กรู้จักรอ ประวิงความต้องการของตน และแสดงออกในเวลา สถานการณ์ และวิธีการที่เหมาะสม
เด็กควรมีระเบียบวินัยในเรื่องใดบ้าง

1. ความประพฤติทั่วไป
เช่น เก็บข้าวของเป็นที่ ตรงต่อเวลา รู้กาลเทศะ
2. กิจวัตรประจำวัน
เช่น รักษาร่างกายให้สะอาด แต่งตัวเรียบร้อย ช่วยเหลือตนเองได้ตามวัย
3. การทำงาน
เช่น รับผิดชอบงานที่ผู้ใหญ่มอบหมายให้ทำได้เสร็จและเต็มความสามารถ
4. การเรียน
เช่น รับผิดชอบการเรียน และกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
5. ควบคุมตนเอง
เช่น ควบคุมอารมณ์โกรธ หรือขัดใจ ได้ดี อดทนต่อความลำบากได้ตามวัย
การฝึกระเบียบวินัย ต้องสร้างแต่เล็ก ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเป็นวัยที่กำลังก่อสร้างบุคลิกภาพ ความคิด อารมณ์ จึงควรปลูกฝังสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ให้เด็กเล็ก จนกระทั่งพ้นอายุ 18 ปี บุคลิกภาพก็จะคงตัว เป็นรูปแบบที่ชัดเจนและฝังลึก ยากที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง

เคล็ดลับในการฝึกระเบียบวินัย

1. ฝึกให้เหมาะกับพัฒนาการเด็กแต่ละวัย (ปรึกษาเจ้าหน้าที่คลินิกพัฒนาการเด็ก)
2. ฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างหวังผลร้อยเปอร์เซ็นต์
3. ให้แรงเสริมเชิงบวก เมื่อเด็กทำดี เช่น คำชม กอด สัมผัส หรือรางวัล
4. ฝึกด้วยความหนักแน่น คงเส้นคงวา ไม่ลังเล
5. เป็นตัวอย่างที่ดี หากพ่อแม่สอนลูกในสิ่งที่ตรงข้ามกับการกระทำของตน เด็กย่อมสับสนว่าควรทำเช่นไรและไม่เกิดการสร้างระเบียบวินัยได้

ที่มา www.inf.ku.ac.th